บล็อกการเลี้ยงดูทารก

Posts Tagged ‘เสื้อเด็ก

ถ้าปล่อยให้หนูเป็นลูกคนเดียวมาเป็นปี แล้วอยู่ๆแม่ก็อุ้มเด็กที่ไหนก็ไม่รู้ หน้าตาแปลกๆ แถมร้องไห้เสียงดังลั่นเข้ามาในบ้านพร้อมประโยคสั้นๆ(แต่ไม่ยักเข้าใจ)ว่า “นี่ไงจ๊ะ น้องของหนู” รับประกันได้ว่า หนูไม่มีวันยอมเด็ดขาด แล้วคราวนี้แม่จะรู้ว่า อาการหัวปั่นเมื่อหนูป่วนมันเป็นยังไง ฮึ่ม!

ก่อน อื่นเลยคุณแม่คงต้องทำใจว่า การท้องในครั้งนี้คุณแม่จะมัวมากังวลกับความเปลี่ยนแปลงของตัวเองเพียงเท่า นั้นไม่พอค่ะ เพราะการตั้งครรภ์ในครั้งนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของคุณกับลูกในท้องเท่านั้น ยังมีหนูน้อยอีกคนหนึ่งที่เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของแม่ และยังต้องการเวลาสำหรับตัวแกที่แม่ควรมีให้อยู่เหมือนเดิม

ลูก ควรจะได้รับรู้เรื่องราวของน้องไปพร้อมๆกับผู้อื่นด้วย และในแต่ละเดือนที่ผ่านไป อย่าลืมสะกิดลูกเข้ามามีส่วนร่วมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยนะ เช่น เมื่อรูปร่างแม่เริ่มเปลี่ยนแปลง ลูกอาจฉงนสนเท่ห์ว่าน้องทำอะไรแม่ถึงเป็นแบบนี้ แม่ก็คงต้องอธิบายว่าน้องอยู่ในนี้ หรือเวลาน้องดิ้นก็คว้ามือน้อยๆของลูกมาวางที่ท้องในตำแหน่งที่น้องดิ้น นอกจากนั้นหากมีเวลาแม่กับลูกน่าจะมาจับเข่าคุยกันสักหน่อยว่า หลังจากน้องเกิดมาแล้วจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง เช่น น้องจะร้องไห้บ่อย แม่ต้องแบ่งนมให้น้องกิน ต้องอุ้มน้อง ฯลฯ อย่าลืมย้ำอย่างหนักแน่นว่าน้องจะไม่ใช่คนที่มาแย่งความรักที่พ่อแม่มีต่อ ลูกไป แต่น้องมาเพื่อได้รับความรักจากลูก และต้องการการดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือจากลูกเช่นกัน

เมื่อถึง “วันนั้น”

อย่า ลืมพาหนูไปเยี่ยมแม่กับน้องด้วย เพราะภาพที่เห็นทำให้หนูเข้าใจว่าที่แม่หายหน้าไปวันหรือ 2 วันก่อนหน้านี้ แม่ไปไหน! ทำอะไร! และได้เห็นว่าแม่สุขสบายดีแถมมีน้องน่ารักให้หนูอีก 1 คน

“กลับมาบ้านซะที”

แม้ ว่าลูกจะทำท่าเข้าอกเข้าใจพ่อกับแม่และน้องใหม่เป็นอย่างดี แต่เมื่อกลับมาบ้าน ได้เห็นแม่ทะนุถนอมน้อง แอะนึงก็โอ๋ แอะนึงก็อุ้ม คุณแม่ก็อาจจะเห็นอาการวีนเล็กๆจากลูก เช่น อาจงอแงทำตัวเหมือนเด็กเล็กๆ ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ใช้ความอดทนสักนิด พยายามไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าคุณเปลี่ยนไป แกก็จะรู้สึกอบอุ่นใจ มั่นใจ และเข้าใจว่าที่แท้พ่อแม่ก็ยังรักแกเหมือนเดิมแต่อาจแสดงออกแตกต่างกับน้อง ก็เท่านั้นเอง

แต่วิธีที่น่า จะช่วยป้องกันหรือลดอาการที่ว่านี้ลงได้ก็คือ จากโรงพยาบาลมาถึงบ้าน คุณแม่น่าจะไหว้วานให้คุณพ่อหรือคนใกล้ชิดเป็นคนอุ้มลูก(คนเล็ก)แทน เพื่อแขนสองข้างของคุณแม่จะได้โอบกอดเจ้าตัวโตได้เต็มไม้เต็มมือ(และเป็นการ ช่วยให้คุณแม่สบายขึ้นหน่อยเพราะแผลหลังคลอดอาจทำให้อุ้มลูกไม่ถนัดมือ นัก)อย่าลืมกระซิบข้างๆหูลูกว่า ของขวัญชิ้นพิเศษนี้มอบให้ลูกเป็นคนช่วยดูแล และคุณคิดถึงลูกแค่ไหนตลอดเวลาที่อยู่โรงพยาบาล

“ช่วยกันหน่อยนะ”

ไม่ ว่าเรื่องอะไรเกี่ยวกับ “น้อง” ถ้าเป็นไปได้ขอโอกาสให้ลูกคนโตได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือน้องหน่อย เช่น ให้ลูกช่วยหยิบผ้าอ้อมให้ หรือส่งขวดนม ขวดน้ำของน้องให้ ถ้าอุ้มน้องอยู่ก็อาจอนุญาตให้ลูกมาอิงแอบอยู่ใกล้ๆ หรืออาจให้ลูกช่วยตัดสินใจเลือกสีเสื้อผ้าให้น้อง(วิธีการเหล่านี้นอกจาก ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างน้องกับพี่แล้ว ลูกคนโตยังได้ฝึกพัฒนาการในด้านการเป็นผู้นำ การรู้จักตัดสินใจ การรู้จักช่วยเหลือพี่น้องด้วย)

ทั้ง หมดทั้งมวลที่ขอมา ไม่ใช่เรื่องยากเลยถ้าคุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างจะช่วยกันดูแลรักษาความ รู้สึกของหัวใจดวงน้อยดวงนี้ ที่สำคัญการเตรียมการไว้แต่เนิ่นๆมีชัยไปกว่าครึ่งแน่ๆค่ะ

tip

*ลอง หาตุ๊กตามาให้ลูก และลองให้แกดูแลตุ๊กตาเหมือนกับที่พ่อหรือแม่ดูแลน้อง เช่น อาบน้ำให้ตุ๊กตา เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ตุ๊กตา ป้อนข้าว แต่งตัวให้ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านี้อีกวิธีหนึ่ง

*ถ้า ลูกทำท่าอยากรู้อยากเห็นและมีคำถามว่า “น้องมาจากไหน” คุณพ่อคุณแม่ควรให้ข้อมูลโดยประเมินจากการรับรู้ของลูกด้วยว่าแค่ไหนจะเข้า ใจ เพราะถ้าบอกอะไรมากเกินการรับรู้ของลูก แกอาจรู้สึกตกใจและกลัวก็เป็นได้

ขอบคุณข้อมูลจาก momypedia.com

ยุคนี้ของเล่น มีวางขายเกลื่อนมากมาย ด้วยความเข้าใจที่ว่า ของเล่นมีส่วนช่วยพัฒนาทักษะทางปัญญาและอารมณ์ของเด็ก แท้ที่จริงแล้ว นักวิชาการกล่าวว่า ต่อให้ของเล่นมีราคาแพง ดีแค่ไหน แต่ไม่มีพ่อแม่ได้ร่วมเล่นกับลูก ของเล่นไม่ตรงกับความสามารถ พัฒนาการตามช่วงวัย ก็เปล่าประโยชน์

ข้อแนะนำต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจถึงการเล่นที่เสริมสร้างความฉลาด สอดคล้องกับความสามารถ พัฒนาการช่วงวัยของลูกค่ะ

0 – 1 เดือน

ความสามารถ ลูก เรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ ผ่านประสาทสัมผัสทุกด้านตั้งแต่แรกเกิด สามารถมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส และสัมผัสได้ตลอดเวลา การจัดสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญ ที่ช่วยให้ลูกซึมซับความรู้สึก พร้อมกับการเล่นที่หลากหลายและสร้างสรรค์โดยเฉพาะลูกน้อยช่วงแรกเกิดนั้น ของเล่นที่ดีที่สุดก็คือพ่อแม่ ที่ได้ใกล้ชิดดูแลเรื่องความเป็นอยู่ ได้เล่นกับลูก
ของเล่น
– เสียงพูดคุย ร้องเพลง ที่มีจังหวะ น้ำเสียงขึ้นๆ ลงๆ ก็เป็นเสียงชวนฟัง เรื่องสนุกของลูก


– เล่นปูไต่ การสัมผัส ใช้นิ้วมือของคุณแม่ไต่ไปตามแขน ขา ลำตัว นิ้วมือ นิ้วเท้า พร้อมกับสบตาพูดคุยไปด้วย


– ใช้ใบหน้าที่ยิ้มแย้ม หรือการทำท่าทางที่ตลกๆ ของคุณพ่อ ชวนให้ลูกยิ้มดูบ้างสิคะ

 

2 – 3 เดือน

ความสามารถ ลูกยกศีรษะจากที่นอนได้ชั่วขณะ (ประมาณ 45 องศา) ช่วงแขน ขา เอว เข่า แข็งแรงขึ้นมากของเล่น
– เลือกภาพที่น่าสนใจ เช่น ภาพใบหน้าพ่อ-แม่ หรือภาพดอกไม้ รูปทรงง่ายๆ ที่ตัดกับพื้นด้านหลังชัดเจน นำมาให้ลูกดู หรือทำเป็นโมบายแขวนไว้


– จับลูกนอนคว่ำกับที่นอน โดยคุณแม่อยู่ด้านตรงข้ามกับลูก ใช้ใบหน้า เสียงเรียกหรือท่าทาง ชวนลูกเล่น กระตุ้นให้ลูกพยายามผงกหัวขึ้นมามอง

4 – 5 เดือน

ความสามารถ ควบคุมศีรษะดีขึ้น อาจมีบ้างที่ศีรษะยังแหงนหงาย คอและหลังแข็งแรงขึ้นมาก ชอบเหลียวมองไปมา ชอบมองของเล่น และอยากจะคว้าของของเล่น
– อุ้มลูกส่องกระจก ให้ลูกมองตัวเองในกระจก พร้อมกับบอกชื่อลูกหรือชื่อคุณแม่


– ของใช้ เช่น ผ้าอ้อม ก็สามารถนำมาดัดแปลงเป็นของเล่นสนุก ให้ลูกสัมผัส หยิบจับ ขยำ กำ ได้ค่ะ

 

6 เดือน

ความสามารถ ลูกพยายามคืบ หยิบของเข้าปาก ชอบของเล่นสีสันสดใส มีเสียงของเล่น
– แก้วน้ำ ถ้วย ช้อน ที่มีน้ำหนักเบา อุปกรณ์เรื่องหม่ำของลูก ก็เป็นของเล่นที่ชวนเพลิดเพลินกับการหยิบจับกำ สิ่งของได้เป็นอย่างดี


– อวัยวะส่วนต่างๆ ของลูก ก็เป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องเล่นค่ะ โดยให้ลูกสัมผัสกับอวัยวะ เช่น จมูก ปาก หูของตัวเอง แล้วคุณแม่คอยกำกับบอกชื่อขณะที่เล่น

 

7 – 8 เดือน

ความสามารถ กล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรง ลูกสามารถหยิบของสลับข้างได้เก่ง นั่งได้ คลานได้ แต่อาจไม่คล่องแคล่วของเล่น
– หากล่องใบเล็กสักใบ พร้อมลูกบอลที่ลูกจับถนัดมือ โดยคุณแม่ก็หยิบลูกบอลเข้า-ออกให้ลูกดู ต่อจากนั้นก็ให้ลูกเป็นผู้เล่นดูบ้าง


– คุณแม่อาจให้ลูกลองบีบฟองน้ำ หรือตีน้ำป๋อมแป๋มให้ลูกดู มีเสียงประกอบเล็กน้อย ก็เป็นเรื่องสนุกช่วงเวลาอาบน้ำ

9 – 10 เดือน

ความสามารถ ลูกเริ่มเกาะยืน เคลื่อนไหวร่างกายคล่องขึ้นมากของเล่น
– ใช้กำแพงบ้านเป็นพื้นที่สนุก ให้ลูกหัดดันตัวเองจากพื้น เพื่อเกาะยืนขึ้น


– ให้คุณพ่อมีส่วนร่วมเรื่องเล่นของลูก ด้วยการเล่นโยกเยก ขี่ม้าส่งเมือง โดยมีคุณแม่ดูแลความปลอดภัย

 

11 – 12 เดือน

ความสามารถ ลูกเกาะยืน ลุกขึ้นนั่งลง คลานไปได้ทั่ว สนุกกับการเคลื่อนไหวร่างกาย (ไม่อยู่นิ่ง) ของเล่นจำพวกผลัก ดึง ให้เคลื่อนที่ได้จึงเป็น ของเล่นชวนสนุกของลูกวัยนี้
ของเล่น
– หากล่องใบเล็ก 2-3 ใบ ประดิษฐ์เป็นขบวนรถไฟ ให้ลูกสนุกกับการลาก ดึง ที่สำคัญ ขณะที่เล่นคุณแม่ควรพูดคุยถึงสิ่งที่ลูกเล่นไปด้วย เช่น ทำเสียงเลียนแบบรถไฟ (ปู๊น ปู๊น) เป็นต้น

 

บทความจาก sanook.com

 


กระเป๋าเด็ก กางเกงเด็ก การเรียนรู้ การเลี้ยงดูลูกน้อย การเลี้ยงดูเด็ก การเลี้ยงลูก การเลี้ยงลูกน้อย การเลี้ยงเด็ก ขวบแรก ของเล่นเด็ก ของใช้เด็ก ข้อควระวัง คุณแม่มือใหม่ คู่มือเด็ก ชุดเด็ก ดูแลเด็ก ทริคเลี้ยงเด็ก ทารก นมวัว นวดลูก น้ำนมแม่ ผื่นผ้าอ้อม พัฒนการลูกน้อย พัฒนาการลูกน้อย พัฒนาการเด็ก ภูมิคุ้มกันโรค รองเท้าเด็ก ระวังภัยในบ้าน ลูกน้อย สื้อรักแม่และลูก สุขภาพ หมู่เลือด อาบน้ำเด็ก อาหารเด็ก เด็ก เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กซน เด็กทารก เด็กน้อย เด็กอมข้าว เด็กอัจฉริยะ เด็กเล็ก เลี้ยงเด็ก เลื้ยงลูก เสริมพัฒนาการเด็ก เสื้อผ้าเด็ก เสื้อเด็ก แพ้นม แม่และเด็ก โภชนาการเด็ก